ประวัติความเป็นมา

             ประวัติความเป็นมาก่อนมาเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยงานนี้พัฒนามาจาก ศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาพัฒนามาเป็นสำนักวิจัยและบริการวิชาการ และเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาในที่สุดเพื่อสนองภารกิจวิทยาลัยครูในฐานะเป็น สถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีหน้าที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 ดังนี้มาตรา 5 ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครูอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

ปี พ.ศ.2524

วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ได้ประกาศจัดตั้งหน่วยงานศูหนย์วิจัยและบริการ การศึกษา โดยมีอาจารย์ส่งศรี ชมภูวงศ์ เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการการศึกษามีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารเรียน 6(ห้อง 614)ภารกิจของศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาในระยะแรก คือ การวิจัยที่ร่วมมือกับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของกรมการฝึกหัดครูในการวิจัยเรื่อง”การศึกษาแนวทางเพื่อ พัฒนาวิทยาลัยครู” ของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้

พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2)

ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูสามารถจัดการศึกษาสาขาวิชาการอื่นในระดับปริญญาตรี ได้ตามความต้องการของท้องถิ่นนอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครูและยังมีประกาศ ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็นวิทยาลัยชุมชน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนา และสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ทำให้งานของศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาขยายกว้างมากขึ้นขณะเดียวกันก็ได้ เพิ่มบทบาทการนำผลการวิจัยที่อาจารย์วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจัดทำขึ้น หรือผลการวิจัยที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยาลัยครูแห่งอื่นในเครือข่าย วิทยาลัยครูด้วยกัน โดยจัดวิทยากรไปถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการให้แก่ชุมชน บุคลากรในหน่วยงานราชการและเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ได้จัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจช่วยเหลือทางวิชาการแก่หน่วยงานตำรวจทั้ง ด้านวิจัยและพัฒนาตามโครงการ โรงพักของเรา และได้รับโล่ ผู้สนับสนุนงานตำรวจดีเด่นงานวิจัยที่สำคัญได้แก่ การวิจัยเรื่อง อาชญากรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี(เป็นความร่วมมือระหว่างสภาวิจัยแห่งชาติ กรมตำรวจ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี)จากศูนย์วิจัยและ บริการการศึกษาเป็นสำนักวิจัยและบริการวิชาการ

ปี พ.ศ.2527
ปี พ.ศ.2538

ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 ทำให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏตามพระราชบัญญัติ สถาบันราชภัฏพ.ศ.2538 เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ คือ ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เปิดสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรีและมีหน้าที่ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครูสถาบันราชภัฏทุกแห่งได้กำหนดให้มีสำนักวิจัย ขึ้น ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการจึงถูกยุบเลิกและได้มีการจัดตั้งเป็นสำนักเรียก ว่า สำนักวิจัยและบริการวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2538

ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2541เรื่องแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งหรือแบ่งส่วนราชการ สถาบันจึงได้ออกประกาศสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช เรื่อง “การแบ่งส่วนราชการในสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช”เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2543 ทำให้สำนักวิจัยและบริการวิชาการ เป็นสำนักมีฐานะเทียบเท่าคณะจากสำนักวิจัยและบริการวิชาการเป็นสถาบันวิจัย และพัฒนา

ปี พ.ศ.2541
ปี พ.ศ.2547

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ เรียกว่าพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยและพัฒนาราชภัฏ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547 โดยให้สถาบันวิจัยและพัฒนาแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตาม กฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เรียกชื่อสถาบันวิจัยและพัฒนา ตามชื่อของสถาบันราชภัฏเดิมตามความในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 11 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยและพัฒนา พ.ศ. 2547 ให้จัดตั้ง “สถาบันวิจัยและพัฒนา” เป็นส่วนราชการในสถาบันวิจัยและพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548

ปี พ.ศ. 2548
Message us